- สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต ๑ ยินดีต้อนรับ -

นายพิฑูรย์ อุตม์อ่าง

ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต 1

 

anigif.gif - 754.31 Kb

Data Center สพป.พบ.1




เว็บไซต์โรงเรียนในสังกัด




เว็บไซต์ที่น่าสนใจ







ประเมินครูแบบใหม่

นายชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) เปิดเผยว่า หลังจากที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(สพฐ.)ได้มีการประชุมระดม ผู้รู้พัฒนาระบบประเมินวิทยฐานะและความก้าวหน้าของครู เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาทั้งระบบนั้น ขณะนี้สพฐ.กำลังจัดทำรายละเอียดหลักเกณฑ์การมีและเลื่อนวิทยฐานะแนวใหม่ด้วย การประเมินสมรรถนะ หรือ TPK Model ซึ่งจะมีองค์ประกอบหลักของการประเมินดังกล่าว ได้แก่ การประเมินสมรรถนะของผู้เข้ารับการประเมินทั้งสมรรถนะทางวิชาการ และสมรรถนะด้านการเรียนการสอนที่ส่งผลต่อคุณภาพของผู้เรียน โดยจะมีการนำผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของนักเรียน ทั้งคะแนนแบบทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน (โอเน็ต) และการประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน (เอ็นที) มาเป็นตัวชี้วัดการสอนของครู โดยจุดหลักสำคัญของการประเมินวิทยฐานะแนวใหม่คือ ครูต้องดี เก่ง และเด็กได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งภายในปีการศึกษา 2557 จะมีการนำร่องการประเมินวิทยฐานะแนวใหม่ในสายการสอน 3 กลุ่มสาระการเรียนรู้ที่มีความพร้อม ได้แก่ วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และภาษาอังกฤษ เลขาธิการ กพฐ. กล่าวต่อว่า นอกจากนี้แม้ว่าครูจะมีใบประกอบวิชาชีพครูอยู่แล้วก็ตาม แต่หากครูมีความประสงค์จะเข้ารับการประเมินวิทยฐานะแนวใหมก็ต้องเข้ารับการ ประเมินสมรรถนะด้านความรู้ของครูด้วย ซึ่งต่อไปจะมีหน่วยงานจากภายนอกมาทำหน้าที่ประเมินสมรรถนะครูพร้อมให้ใบ รับรอง เช่น สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) จะมีเครื่องมือประเมินครูสอนวิชาวิทยาศาสตร์ และออกเป็นระดับวิทยฐานะชำนาญการ ชำนาญการพิเศษ และเชี่ยวชาญ เป็นต้น ซึ่งหากครูได้รับใบรับรองดังกล่าวก็จะทำให้มีสิทธิได้รับวิทยฐานะที่สูงขึ้น ได้ สำหรับการทำผลงานเพื่อประเมินวิทยฐานะแนวใหม่นี้ครูจะไม่ต้องทำผลงานวิชาการ ที่มีความหนามาก แต่จะให้ครูเขียนผลงานในรูปแบบสารนิพนธ์ โดยจะเป็นการเรียบเรียงสิ่งที่ครูดำเนินการมาตั้งแต่ต้น อาทิ การเขียนงานวิจัยเชิงปฎิบัติการ และการวิจัยในห้องเรียน เป็นต้น ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องที่ครูมีความถนัดอยู่แล้ว ส่วนครูที่คิดว่ายังไม่มีความพร้อมในการประเมินวิทยฐานะรูปแบบใหม่ก็กลับไป ใช้การประเมินวิทยฐานะรูปแบบเก่าได้ เพราะยังไม่มีการยกเลิก อย่างไรก็ตามจะสรุปเกณฑ์การประเมินวิทยฐานะแนวใหม่ เพื่อเข้าสู่การพิจารณาในการประชุมคณะกรรมการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) ได้ประมาณปลายเดือนกันยายนนี้