โฮมสคูล

สพฐ.ตั้งคณะทำงานดูแล′โฮมสคูล′ทุ่มงบฯรายหัว-หวังสร้างเด็กอัจฉริยะ
/
///////// นายกมล รอดคล้าย รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (รองเลขาธิการ กพฐ.) กล่าวว่า สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ส่งเสริมการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยครอบครัว หรือโฮมสคูล ตามข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องในการจัดการศึกษาโดยบุคคล ครอบครัว องค์กรชุมชน องค์กรเอกชนวิชาชีพ การจัดการศึกษาโดยสถานประกอบการตามมาตรา 12 แห่ง พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 ที่ผ่านมา สพฐ.จัดสรรงบประมาณให้การจัดการศึกษาโดยครอบครัวทุกปี แต่ปีนี้สพฐ.มีคณะกรรมการที่ร่างกฎหมายและระเบียบขึ้นมาโดยเฉพาะ โดยปีนี้มีเด็กที่เรียนในระบบนี้ทั่ว ประเทศจำนวน 399 คน มีครอบครัวทั้งหมด 217 ครอบครัว โดยสพฐ.ได้จัดงบฯ สนับสนุนให้คนละ 3,000 บาท รอง เลขาธิการ กพฐ. กล่าวต่อว่า หลักการจัดการเรียนโดยครอบครัวที่สพฐ.กำหนดจะมี 4 ขั้นตอน คือ 1.ผู้ปกครองจะต้องแจ้งความประสงค์ที่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา 2.ต้องกำหนดวิธีการเรียน คือจะเรียนพ่วงกับโรงเรียน หรือผู้ปกครองจะเป็นผู้สอนเองทั้งหมด โดยวิธีพ่วงกับโรงเรียน ผู้ปกครองต้องระบุว่าวิชาใดจะสอนเองและวิชาใดจะเรียนที่โรงเรียน เด็กจะประเมินผลทั้งโรงเรียนและกับ ผู้ปกครอง ซึ่งส่วนใหญ่ 80 เปอร์เซ็นต์ ผู้ปกครองจะใช้วิธีนี้ 3.วิธีสอนเองทั้งหมดนั้น ผู้ปกครองต้องเป็นผู้ประเมินผล ซึ่งยังไม่มีตัวมาตรฐานที่แน่นอน และ 4.วิธีการจัดแผนการเรียนเป็นรายบุคคล ผู้ปกครองจะต้องส่งแผนการเรียนให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (สพท.) ตรวจสอบ เมื่อสพท.รับรองแล้ว จึงไปจัดการเรียนการสอนด้วยตนเอง "สพฐ.ตั้งใจ ที่จะทำเรื่องนี้ เพราะกฎหมายกำหนดไว้และให้ครอบครัวมีส่วนดูแลลูก และเด็กแต่ละคนมีคุณลักษณะแตกต่างกัน ครอบครัวที่จัดโฮมสคูลส่วนใหญ่พ่อแม่มีฐานะดี มีลูกเป็นเด็กเก่งเด็กอัจฉริยะ ถ้าพ่อแม่มีรายได้น้อยก็จะไม่สอนลูกเอง ดังนั้น เราไม่อยากให้ระบบการศึกษาเดิมไปฉุดรั้งไว้ จะได้สร้างความเป็นอัจฉริยะให้กับเด็กได้เต็มที่" นายกมล กล่าว /////////